ความเป็นมาของ 'กุ้งเหยียด'
คุณป้าสุนทร เจ้าตำรับเริ่มต้นทำกุ้งหวาน เมื่อปี 2533 โดยตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้าน ตอนแรกมองหาทรัพยากรในหมู่บ้าน
ก็เห็นว่ากุ้งมีเยอะมาก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์เมื่อก่อนทำนาเกลือแล้วเปลี่ยนทำวังกุ้งกันมาก มีเหลือล้นความต้องการ
ทำยังไงดี !?
เพื่อไม่ให้เน่าเสียและเพิ่มมูลค่า ป้าสุนทรกล่าวว่า “ตอนแรกมันก็ไม่ตรงหรอก ไอ้กุ้งนี่ที่ไหนที่ไหนมันก็งอทั้งน้านแหละคุณเอ๋ย
ตั้งแต่สมัยพ่อแม่ฉันต้มมันก็งอกว่าจะตรงก็หาวิธีอยู่นาน ลองผิดลองถูกอยู่นานกว่าจะได้ตรงอย่างนี้ คนอื่นๆ เขาไม่รู้หรอก
ว่าเราต้องตระเวนไปทุกที่ ที่ไหนมีทำกุ้งแบบนี้เราก็ไปสำรวจหมด ลองชิมหมดว่าดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร พอได้อย่างที่พอใจแล้ว
ตอนนี้เราก็เอาออกงานทั่ว ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ก่อนเข้าประชุมฉันก็ฝากกุ้งหวานไว้หน้างาน เจ้าหน้าที่ก็ถามว่า อะไรน่ะป้า
ฉันก็บอกว่ากุ้งเหยียด เรียกไปเรียกมาเขาไม่เรียกว่ากุ้งเหยียดแล้ว เขาเรียกกุ้งขี้เกียจ มันไม่ยอมงอได้แต่ตรงอย่างเดียว
ไปที่ไหนใครๆ ก็ติดใจ เอาไปเท่าไหร่ก็หมด สั่งซื้ออีกต่างหาก ชื่อเสียงก็เลยดัง รายการต่างๆ ก็มาถ่ายทำ
และก็มาเข้าประกวดสินค้า OTOP นี้แหละก็ได้ระดับจังหวัด ครั้งแรกได้ดาวเดียว แล้วก็มาได้สี่ดาว สองปีประกวดที
พอเปลี่ยนสมัย (รัฐบาล) ก็เลยไม่ได้มีการจัดประกวดอีก ของป้าเป็นเจ้าเดียวทีผ่านการคัดสรรแล้วได้ดาวนะ มีอย. ด้วย
ตามโรงเรียน สถานศึกษาต่างก็ส่งคนมาเรียนคนไทยที่มาอยู่เมืองนอกก็มาเรียนแล้วกลับไปทำที่เมืองนอกนะ”
คุณป้า สาธิตให้ใครสนใจก็ไม่ได้หวงห้าม ตระเวนไปสาธิตทั่วจนโล่มาเต็มบ้านเลย ต่อมาไม่ไหวแล้วบอกมาดูที่นี่เลยจะสาธิตให้ดู
นอกจากกุ้งเหยียดแล้วยังมีกะปิระดับห้าดาว กลับมาเรื่องกุ้งเหยียดวันหนึ่งทำประมาณ 50 กิโลกรัม หลังผ่านกรรมวิธีแล้ว
ก็จะเหลือไม่ถึง 40 กิโลกรัม วันหนึ่งขายหมดนะต้องทำวันต่อวัน เริ่มทำกันก็ประมาณตีสี่
กุ้งเหยียดหนึ่งในสัญลักษณ์ของดีของบ้านสาขลานาเกลือ นอกจากพระเจดีย์เอียงที่ใครๆ รู้จัก
ใครมาเที่ยวซื้อกุ้งเหยียดสาขลาติดไม้ติดมือไปฝากคนที่บ้านได้ว่า "มาถึงสาขลาแล้วมีของอร่อยมาฝาก!!"
กลับขึ้นด้านบน
|